ต้นเพชรสังฆาต พันธุ์ไม้รักษาโรคริดสีดวงทวารหนักได้ มีคุณประโยชน์มากมาย

ต้นเพชรสังฆาต

พันธุ์พืชเขตร้อน ที่มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศแอฟริกา และทวีปเอเชียในประเทศไทย พบได้มากในภาคเหนือตอนล่างลงไป “ ต้นเพชรสังฆาต ”

🌿 🌿 🌿 🌿 🌿 🌿 🌿 🌿 🌿 🌿 🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿 🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿

หลาย ๆ คนที่เคยประสบปัญหาโรคริดสีดวงทวารหนัก Admin ว่าจะต้องรู้จักพันธุ์ไม้ชนิดนี้ที่นำมาฝากแน่นอน โดยที่เจ้าต้นนี้ เรียกได้ว่าเป็นไม้เถาเลื้อย ที่จะมีลักษณะเป็นเถาเรียบ โดยเขาจะออกข้อยาวประมาณ 6 ถึง 10 เซนติเมตร และบางข้อก็อาจจะมีรากงอกออกมาด้วย โดยเขามีใบเดี่ยวเรียงสลับกัน และจะออกตามข้อข้อละ 1 ใบเท่านั้น

ซึ่งใบจะมีรูปเป็นสามเหลี่ยมรูปไข่ ลักษณะค่อนข้างกลมหนา รวมถึงยังออกดอกเป็นช่ออีกด้วย ซึ่งเขาจะออกตามบริเวณข้อต่อตรงข้ามกับใบนั่นเอง ดอกจะมีลักษณะกลมเล็ก สีแดงเขียว ซึ่งจะเป็นช่อขนาดเล็ก จากนั้นก็จะมีผล ที่จะเป็นรูปทรงกลมผิวเรียบมัน ลักษณะฉ่ำน้ำ โดยมีขนาดประมาณ 7 มิลลิเมตร

ผลอ่อนจะมีความเป็นสีเขียว แต่เมื่อสุกเต็มที่แล้ว ก็จะเป็นลักษณะสีแดง หรือสีดำ ภายในจะมีเมล็ดกลมสีน้ำตาลอยู่ 1 เมล็ด สามารถขยายพันธุ์ได้นั่นเอง

ซึ่งในปัจจุบัน วิธีที่ได้รับความนิยมในการนำไปขยายพันธุ์ นั่นก็คือ วิธีการปักชำ โดยจะใช้วิธีการเลือกเขาที่มีลักษณะเหมาะสม จากนั้นก็ตัด และนำมาปักชำนั้นเอง

เพชรสังฆาต1 - ต้นเพชรสังฆาต พันธุ์ไม้รักษาโรคริดสีดวงทวารหนักได้ มีคุณประโยชน์มากมาย
ต้นเพชรสังฆาต

“ ต้นเพชรสังฆาต ” พืชที่พบได้ในประเทศไทย ตามภาคเหนือตอนล่างที่มีอากาศร้อน

ถือได้ว่าเป็น พืชทางเศรษฐกิจ อีกหนึ่งชนิดที่ได้รับความนิยมในการนำมาทำเป็นอาหารเสริม รวมถึงยารักษาโรค กับพืชชนิดนี้ โดยต้นนี้ เรียกได้ว่ามีประโยชน์ตลอดทั้งต้นเลยทีเดียว เริ่มจากรากของเขา สามารถรักษาอาการกระดูกแตกหักได้ ส่วนลำต้นก็สามารถมาแก้อาการเลือดกำเดาไหล หรือแก้อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ เพื่อช่วยอาการเจริญหารได้อีกด้วย

นอกจากนี้ ใบของเขาก็ช่วยรักษาอาการโรคลำไส้ หรืออาการอาหารไม่ย่อย แก้อาการริดสีดวงทวารหนัก บอกเลยว่าความนิยมมาก ๆ ในการนำมาแปรรูปเป็นยาผงบรรจุแคปซูล เพื่อนำไปใช้รักษาอาการโรคต่าง ๆ นั้นเอง

o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o

c r e d i t : ufa877

o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o